พช.พร้อมด้วยนักการตลาดรุ่นใหม่ ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

“เส้นทางและสายใยกลุ่มทอผ้าแห่งเมืองคนดี”
เสาร์ที่ 4 กันยายน 2564
 นายกรองศักดิ์ โอยสวัสดิ์ พัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นายพิชัย มณีลาภ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนักการตลาดรุ่นใหม่ (OTOP)  New Gen ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และลายผ้าอื่นๆของกลุ่มทอผ้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยในวันนี้ได้มี ดร.ณรัฐนันทน์ รักษาทิพย์ อาจารย์ที่ปรึกษาศูนย์ฯ นางสาวจิรวัลย์ ปิงเมา ครูสอนการทอผ้า ได้ร่วมลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าที่เป็นเครือข่ายโรงทอแม่โรงทอลูกจำนวน 3 แห่งดังนี้

     1 กลุ่มทอผ้าบ้านทับเที่ยง -สันยูง หมู่ 7 ต.ปากหมาก อ.ไชยา ซึ่งเป็นกลุ่มทอผ้าแห่งใหม่  ขณะนี้สมาชิกกลุ่มได้สร้างกี่ทอผ้าเองเสร็จแล้วจำนวน 10 หลังเพื่อเริ่มต้นการเรียนรู้ และฝึกทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และลายผ้าอื่นๆสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นเอกลักษณ์ออกสู่ตลาดผ้าทอมือทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด โดยมีนายชนุดม เกษมรัตน์ ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านทับเที่ยงให้การต้อนรับ แนะนำสมาชิก และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงทอแห่งนี้ รวมถึงการดำเนินงานในด้านต่างๆ  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสร้างโรงทอถาวรกำหนดแล้วเสร็จและเปิดโรงทออย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ธันวาคม 2564 นี้

   2  ศูนย์ศิลปาชีพบ้านท่านหญิง ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี ซึ่งมีนางประไพ ระบำดี ประธานศูนย์ฯ ให้การต้อนรับ และนำเสนอการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และลายผ้าอื่นๆที่ทางสมาชิกได้มีการเรียนรู้และฝึกการทอมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ศูนย์ศูนย์ศิลปาชีพบ้านท่านหญิง นอกจากจะทำการทอผ้าผืนเพื่อส่งเข้าโครงการของศูนย์ศิลปาชีพตามกำหนดแล้ว สมาชิกยังมีการทอผ้าลายต่างๆ สนองความต้องการของลูกค้า อันเป็นการสร้างโอกาสและรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง ณ ขณะนี้ มียอดการสั่งซื้อผ้าทอมือจากศูนย์ศิลปาชีพบ้านท่านหญิงเป็นจำนวนมากทีเดียว
   3 ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเชี่ยวหลาน ต.เขาพัง อ.บ้านตาขุน โดยมีนางวรรณา แสงมณี ประธานศูนย์ฯ ให้การรต้อนรับ และกล่าวถึงความคืบหน้าของกลุ่มในการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และลายอืนๆซึ่งได้รับการแนะนำการวางลายผ้า และฝึกทักษะการทอ โดยมีนางสาวจิรวัลย์ ปิงเมา สมาชิกกลุ่มท้อผ้านครบางจำ ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี เป็นผู้แนะนำการวางลายผ้า เทคนิคการทอต่างๆ จนเกิดเป็นผลสำเร็จและสามารถวางจำหน่ายได้เพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มลูกค่าที่ชื่นชอบผ้าทอมือและลูกค้าทั่วไป
   ทั้งนี้นายพิชัย มณีลาภ ดร.ณรัฐนันทน์ รักษาทิพย์ อาจารย์ที่ปรึกษาศูนย์ฯและคณะได้หารือในแนวทางการประสานแหล่งบประมาณเช่นจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมหม่อนไหม องค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ อุตสาหกรรมจังหวัด ในการดำเนินการจัดตั้งโรงทอสันยูง-ทับเที่ยงให้ครบวงจรตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และการบูรณาการเชื่อมโยงกลุ่มทอผ้าในพื้นที่เพื่อการพัฒนา ต่อยอด ผ้าทอมือ แนวทางในการพัฒนาผ้าทอมือของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้มีความโดดเด่น ทันสมัยเหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพในสังคม พัฒนาช่องทางการตลาดให้สามารถจำหน่าย โดยผ่านตลาดออนไลน์ อันจะเป็นการเพิ่มยอดจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน เป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและสังคมที่ยั่งยืน เป็นการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ผ้าทอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และการสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย การดำเนินงานโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ซึ่งได้ประทานพระอนุญาตแบบลายแก่ช่างทอผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”ร่วม สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน สืบไป
ภาพ/ข่าว นายพิชัย มณีลาภ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และ นักการตลาดรุ่นใหม่ (OTOP) New Gen 
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สุราษฎร์ฯ//จัดงานแถลงข่าวและประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม โครงการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

“แพทย์แผนไทยครบวงจร มหานครแห่งภูมิปัญญา เมืองสุราษฎร์ธานี” ครั้งที่2

(สำนักงาน ป.ป.ช ภาค8) จัดกิจกรรมการประชุม เชิงปฏิบัติการชมรมฯ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ในพื้นที่ 7จังหวัด ภาค๘