โคก หนอง นา พช.เกาะพะงัน ที่กิน ที่เที่ยว ที่เดียวกัน

เกาะพะงัน เป็นเป้าหมายแห่งหนึ่งของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่ต้องการไปสัมผัส ซึ่งในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลั่งไหลเข้าไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทีมข่าว “นินจา พช.สุราษฎร์ธานี” เห็นว่า “เสน่ห์”คือสิ่งดึงดูดสำคัญ  เกาะพะงันมีหาดทรายที่ขาวสะอาดยาวเหมาะสมในการเอนกายพักผ่อน อาบแดด พร้อมชมบรรยากาศของแมกไม้ที่เขียวขจีสบายตา มีกิจกรรมที่ได้รับความนิยมระดับโลกคือ “ฟูลมูนปาร์ตี้”หรืองานคืนพระจันทร์เต็มดวงบริเวณชายหาดริ้น จะจัดในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำซึ่งจะมีพระจันทร์เต็มดวงสาดส่องแสงสว่างมายังชายหาดและผืนน้ำทะเลสะท้อนแสงระยิบระยับตระการตา นักท่องเที่ยวต่างประเทศทั่วโลกหลั่งไหลมาสัมผัสและสร้างมิตรภาพต่อกัน ดังคำขวัญ “ร ๕ ธารเสด็จ หลวงพ่อเพชรรวมใจ เกาะพะงันพระจันทร์สวย น้ำใส หาดทรายขาว ปะการังแพรวพราว เพชรกลางอ่าว เมืองคนดี”

         ที่สำคัญอีกประการคือ “เสน่ห์ของเจ้าบ้าน”รอยยิ้ม การทักทาย และการต้อนรับ การบริการด้วยมิตรไมตรี ที่ใครๆต่างชื่นชอบและอยากสัมผัส  ตอกย้ำความจริง ล่าสุดเว็บไซต์ William Russell ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับจัดทำแผนประกันสำหรับผู้ที่อาศัยและทำงานในต่างประเทศการันตี เกาะพะงันคว้าแชมป์จุดหมายปลายทาง Workation ที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2020 โดยวัดจากค่าใช้จ่ายรายเดือนความเร็ว Internet  ความสนุกสนาน และความปลอดภัย 

          เมื่อวันที่ ๘ - ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕ นายกิตติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตที่ ๕ และ ๑๘  พร้อมด้วยนายพิชัย มณีลาภ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมทีมข่าว “นินจา พช.สุราษฎร์ธานี” เดินทางลงพื้นที่เกาะพะงัน เพื่อเยี่ยมชมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน เมืองแห่งการท่องเที่ยวที่ดินมีราคาแพง “โคก หนอง นา พช.”จึงเป็นความท้าทายความสำเร็จการทำงานของข้าราชการสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกาะพะงัน
         พื้นที่เกาะพะงันมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะมีทั้งภูเขา ที่ราบและชายทะเล ซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์ นายกิตติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ ๕ และ ๑๘ พร้อมคณะ และทีมข่าว “นินจา พช.สุราษฎร์ธานี”เดินทางโดยรถตู้โดยมี “เดอะโต้ง” ไกรฤกษ์ เลอมาน ราชเจริญ” นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ อาสาแปลงตนเป็นพนักงานขับรถให้กับคณะ ข้ามทะเลมาถึงบ้านเลขที่๑๐๑ /๒๒๗หมู่ที่  ๑ ตำบลเกาะพะงันอำเภอเกาะพะงัน มีป้ายเขียนไว้ “ไร่เตียวิเศษ” มองไปข้างในจะเห็นกิจกรรมต่างๆมากมายที่สร้างความแปลกตาตื่นใจให้กับคณะ
          นางดวงเด่น เตียวิเศษ (สาว) และคุณสุรินทร์ จันทร์สนิท (หนุ่ม)เจ้าของแปลง สมาชิกเครือข่ายโคก หนอง นา และนักศึกษาฝึกงาน ออกมาต้อนรับคณะด้วยรอยยิ้มและความสุข ทั้งคุณสาวและคุณหนุ่มเล่าเรื่องราวเส้นทางชีวิตด้วยความภาคภูมิใจว่า “ตนเองจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาโภชนาการและได้ทำงานเป็นหน้าแผนกโภชนาการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นเวลา ๘ ปี คุณแม่ได้ขอร้องให้กลับบ้านเพื่อช่วยดูแลกิจการรีสอร์ท หลังจากทำหน้าที่ ๓ ปี ได้รู้จักกับนายสุรินทร์ จันทร์สนิท ชาวจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นช่างก่อสร้างที่มารับจ้างในรีสอร์ท เมื่อได้พูดคุยกันมีความรู้สึกว่ามีทัศนคติความชอบที่คล้ายกัน จึงตกลงแต่งงานอยู่ร่วมกัน ในช่วงนั้นต่างคนต่างทำงานคนละที่ไม่ค่อยมีเวลาและได้อยู่ร่วมกัน จึงเลิกงานรีสอร์ทและงานรับจ้างก่อสร้างมาการปลูกผักรับประทานเอง และจำหน่ายสร้างรายได้  ในช่วงแรกคุณแม่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพื่อนๆก็กล่าวหาว่า “บ้า” ที่เลิกทำรีสอร์ทมาปลูกผักแทนเพราะรายได้ต่างกันโดยสิ้นเชิงกับรีสอร์ทที่ทำ แต่ทั้งสองคิดว่าการปลูกผักที่บ้านจะทำให้ทั้งสองคนได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อีกทั้งมีความฝันที่จะทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยในหลวงรัชกาลที่ ๙ และความต้องการของเตี่ย จึงตั้งชื่อว่า “ไร่เตียวิเศษ” โดยตั้งใจพัฒนาพื้นที่ให้มีฐานเรียนรู้ต่างๆเพื่อให้บริการประชาชน นักท่องเที่ยวที่สนใจ ซึ่งปัจจุบันมีฐานเรียนรู้ต่างๆเช่น คนเอาถ่าน ผลิตถ่านชีวมวลกลั่นน้ำส้มควันไม้ ฐานไก่อารมณ์ดี ฐานนาข้าว ฐานคนรักน้ำ(เลี้ยงปลา) ฐานคนรักป่า ฐานการแปรรูปผลผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งเป็นรายเดี่ยว เป็นกลุ่มทั้งที่เป็นคนไทยและต่างประเทศเข้ามาศึกษาดูงานเป็นประจำทุกวันซึ่งทางไร่เตียวิเศษจะจัด Work Shop ให้กับคณะตามความต้องการ อีกทั้งให้โอกาสนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยได้มาฝึกประสบการณ์วิชาชีพอีกด้วย” 

                    นางดวงเด่น เตียวิเศษ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน ปี ๒๕๖๔ ขนาดพื้นที่ ๑ ไร่กับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกาะพะงัน  จากการเยี่ยมชมภายในพื้นที่ พบว่ามีการดำเนิการจัดสรรที่ดินและดำเนินการเป็นไปตามแนวทาง และได้รับประโยชน์สามารถสร้างความมั่นคง ทางอาหาร รายได้ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยที่ไร่เตียวิเศษได้มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด มีการเลี้ยงไก่ไข่แบบอินทรีย์ เลี้ยงปลา มีการแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆหลายชนิด ที่สำคัญมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสมาชิก โคก หนอง นาทั้ง ๑๒ แปลง มีการเอามื้อสามัคคี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างฐานเรียนรู้ต่างๆ พร้อมทั้งรวบรวมผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา มาทำการแปรูปและจำหน่าย โดยเปิดเป็นร้านค้าจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่และ นักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกเครือข่ายโคก หนอง นา ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งได้เห็นถึงความร่วมมือของภาคีการพัฒนาเช่นเกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ กศน.อำเภอ ได้เข้ามาสนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปลา การแปรรูป และจัดทำฐานการเรียนรู้ต่างๆในแปลงอีกด้วย
            นายกิติพล เวชกุล ยังได้กล่าวอีกว่า “กรมการพัฒนาชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับครัวเรือนให้มีความสุขสามารถพึงพาตนเองได้ ในระดับชุมชนพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การผลิต การส่งต่อผลผลิตแปรรูปและการตลาด ขณะนี้ได้มีการเชื่อมโยงเขตพื้นที่ภาคใต้กับเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างให้มีการแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆที่จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน สำหรับโคก หนอง นาแปลงนี้ซึ่งเป็นของพี่หนุ่ม พี่สาว ได้เห็นกิจกรรมการเอามื้อสามัคคี ได้เห็นความสุขของเจ้าของแปลง  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อีกทั้งได้รับนักศึกษาเข้ามาฝึกงาน เห็นว่าการทำงานของกรมการพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอเกาะพะงันได้ด้วย”
 การขับเคลื่อน โคก หนอง นา กรมการพัฒนาชุมชน  กรมฯได้กำหนดแนวทางให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอดำเนินการพัฒนาทั่วประเทศ “ ก้าวต่อไป โคก หนอง นา พช.” แต่ละแปลงสามารถปรับแนวทางตามบริบทและความเหมาะสมของพื้นที่ได้ โดยใช้ โมเดล 5Pขับเคลื่อนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สิ่งแวดล้อม และทางสังคมเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุข
๑. การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ : Place  ดำเนินการภายใต้ ๓ หลักการ ประกอบด้วย  
ซ่อม หมายถึง การซ่อมแซม ปรับปรุง องค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่ต้นแบบฯ ให้มี ความสมบูรณ์ เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน เหมาะสมกับการเป็นพื้นที่เรียนรู้ ได้แก่ โคก หนอง นา คลองไส้ไก่ คันนาทองคำ ด้วยวิธีการขุด แต่ง เติม โดยผ่านกิจกรรมการเอามื้อสามัคคี หรือตามความเหมาะสม
เสริม หมายถึง การเติมเต็มองค์ประกอบทางกายภาพให้พื้นที่ต้นแบบมีศักยภาพและความพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น ความรู้และนวัตกรรมการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างคุ้มค่า เช่น การใช้พลังงานทดแทน ความร่มรื่น เช่น การแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ สร้างความหลากหลาย กระบวนการการถ่ายทอดความรู้ เช่น การสร้างสื่อเรียนรู้ การจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่ต้นแบบ 
สร้าง หมายถึง การจัดให้มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ขนาดเล็ก) ที่เอื้อต่อการเรียนรู้   และสอดคล้องกับสภาพแปลงพื้นที่ต้นแบบ เช่น ถนน เส้นทางเดิน ป้ายบอกทาง/แหล่งเรียนรู้ ฐานเรียนรู้ โรงเรือน จุดพักผ่อน หรืออื่น ๆ   
๒. การพัฒนากลไกและเครือข่าย : People   การสร้างและพัฒนาครูพาทำให้เป็นวิทยากรมืออาชีพด้านการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนี้
๑) พัฒนาผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นครูพาทำ เป็นผู้รู้ (GURU) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตาม หลักทฤษฎีใหม่ รูปแบบ โคก หนอง นา ที่มีศักยภาพ และเป็นตัวอย่างของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถี (Brand Ambassadors โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน)
๒) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดและสร้างสื่อการเรียนรู้
๓) สร้างเครือข่ายทีมวิทยากร ครูกระบวนการ ครูกสิกรรม ครูพาทำ
๔) ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมครูพาทำเป็นผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
       การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวกันของเจ้าของแปลงพื้นที่ต้นแบบที่ดำเนินกิจกรรมในลักษณะเดียวกันหรือเชื่อมโยง เพื่อให้เกิดการเกื้อหนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูลและส่งเสริมกันและกัน ในลักษณะกลุ่มสนใจ กลุ่มกิจกรรม หรือกลุ่มที่มีปัญหาเฉพาะด้าน เช่น กลุ่มการผลิตทางการเกษตร อาทิ กลุ่มผู้ปลูกพืชสมุนไพร กลุ่มผู้ปลูกกล้วย กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา หรือกลุ่มด้านการแปรรูป กลุ่มการตลาด หรือเครือข่ายครูพาทำที่มีความเชี่ยวชาญด้านเดียวกัน 
 
๓. การพัฒนาผลผลิตและผลิตภัณฑ์ : Product ประกอบด้วย
ผลผลิตปลอดภัย เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน โดยการ สร้างเกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์  สร้างกระแส “โคก หนอง นา แหล่งอาหารเพื่อสุขภาพ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน” ออมและแบ่งปัน  การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน โดยการ  ส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์ ธนาคารผลผลิต  ส่งเสริมการออม หรือจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  ส่งเสริมการแบ่งปันกันเอง/ครัวเรือนยากจน/กลุ่มเปราะบาง เช่น ผลผลิต เมล็ดพันธุ์  
แปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์  เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยการ ส่งเสริม  พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (HLM) ให้มี ผลผลิต สู่ตลาด ส่งเสริมพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (CLM) ให้มี ผลิตภัณฑ์ OTOPส่งเสริมการอนุรักษ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้อาหารพื้นถิ่นสร้างคลัสเตอร์ หรือเครือข่ายผลผลิต แปรรูป และการตลาด

๔. การส่งเสริมการตลาด : Promotion หมายถึง การส่งเสริมการตลาดและจัดจำหน่าย ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่ใกล้เคียง ใน ๓ ระดับ ได้แก่ 
ระดับชุมชน ได้แก่ การส่งเสริมการตลาดในรูปแบบ ตลาดนัดชุมชน ตลาดในแปลงพื้นที่ต้นแบบ ร้านค้าชุมชน ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด ช่องทางค้าขายออนไลน์อย่างง่าย เช่น กลุ่มไลน์ขายของชุมชน ไรเดอร์ชุมชน และตลาดเชิงสร้างสรรค์เชื่อมโยงชุมชนท่องเที่ยว หรือวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ เป็นต้น
ระดับจังหวัด ได้แก่ การส่งเสริมการตลาดในรูปแบบตลาดนอกชุมชน เชื่อมโยง OTOP Trader  บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด/เครือข่าย OTOP ระดับจังหวัด ตลาดขายส่ง ผลผลิต “โคก หนอง นา”  ตลาด ๔ ร  หรือ “โคก หนอง นา” ออนไลน์ เป็นต้น
ระดับประเทศ ได้แก่ การส่งเสริมการตลาดในรูปแบบเชื่อมโยง OTOP Trader ประเทศไทย บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เครือข่าย OTOP ระดับภาค/ระดับประเทศ   มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ (Earth Safe Foundation) : มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย (Earth Safe Standard)  ตลาดออนไลน์ และ E - commerce เป็นต้น
๕. ขยายผลและเผยแพร่ : Pass on Perfect เพื่อการขยายผลการดำเนินงานและการเสริมสร้างการรับรู้ให้เกิดผลเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะในวงกว้าง ใช้กลยุทธ์ถอดบทเรียน  ค้นหา Best Practice ความสำเร็จของพื้นที่ต้นแบบ สังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อนำเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ สร้างแรงบันดาลใจให้กับประชาชนสู่การขยายผลสู่ครัวเรือนหมู่บ้านที่ตั้งโดยรอบพื้นที่ต้นแบบ โดยดำเนินการ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สุราษฎร์ฯ//จัดงานแถลงข่าวและประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม โครงการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

“แพทย์แผนไทยครบวงจร มหานครแห่งภูมิปัญญา เมืองสุราษฎร์ธานี” ครั้งที่2

(สำนักงาน ป.ป.ช ภาค8) จัดกิจกรรมการประชุม เชิงปฏิบัติการชมรมฯ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต ในพื้นที่ 7จังหวัด ภาค๘