ชมรมSTRONG จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยมภายใต้ภายใต้โครงการเครือข่าย ป.ป.ท. เฝ้าระวังการทุจริต “PACC Connect
📌 รองนายก ฯ วิษณุ เครืองาม มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ 23 เครือข่ายพื้นที่สีขาวต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริตของ สำนักงาน ป.ป.ท. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แบ่งเป็น โดยมีเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม ได้แก่ ชมรมSTRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดภูเก็ต
✅ วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565) เวลา 09.00 น. สำนักงาน ป.ป.ท. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายภาคประชาสังคมในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต “PACC Connect” ภายใต้โครงการเครือข่าย ป.ป.ท. เฝ้าระวังการทุจริต “PACC Connect” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติเครือข่ายพื้นที่สีขาวต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยได้รับเกียรติจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนา ฯ และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาสังคมในการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการทุจริตของประเทศไทย” พร้อมทั้งมอบรางวัลเชิดชูเกียรติเครือข่ายพื้นที่สีขาวต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีนายพีรพล พิชยวัฒน์ ประธานกรรมการ ป.ป.ท. บรรยายพิเศษ เรื่อง บทบาทภารกิจของสำนักงาน ป.ป.ท. ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และสถานการณ์การทุจริตของประเทศไทยที่มีผลต่อค่าดัชนีรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ท. นายภูมิวิศาล เกษมศุข เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. คณะกรรมการ สปท.ป.ป.ท. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ท. จากส่วนกลางและ ปปท. เขตพื้นที่ 1-9 ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดทำหลักเกณฑ์และอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกเครือข่าย ฯ ประกอบด้วย กระทรวงวัฒนธรรม สถาบันพระปกเกล้า สำนักงาน ก.พ.ร. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และภาคประชาสังคม จำนวน 120 คน เข้าร่วม ฯ ณ ห้องแซฟไฟร์ 202 ชั้น 2 อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
✅ สำหรับการจัดสัมมนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เครือข่ายภาคประชาสังคม เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ป้องกัน เฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสการทุจริตในพื้นที่ รวมทั้งยกย่องเชิดชูเกียรติ “เครือข่ายพื้นที่สีขาวต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต” ที่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ โดยในปี พ.ศ. 2565 สำนักงาน ป.ป.ท. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริตตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยมีพื้นที่ดำเนินการทั้งสิ้น จำนวน 17 จังหวัด 171 ตำบล ซึ่งผลการคัดเลือกมีเครือข่ายที่ผ่านการพิจารณาให้เป็นเครือข่ายพื้นที่สีขาวต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต จำนวนทั้งสิ้น 23 เครือข่าย จากสำนักงาน ป.ป.ท. ส่วนกลาง และสำนักงาน ปปท. เขต 1-9 ประกอบด้วย ระดับดีเยี่ยม จำนวน 15 เครือข่าย ระดับดีเด่น จำนวน 7 เครือข่าย และระดับดี จำนวน 1 เครือข่าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น